เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 6. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า มีสติ อธิบายว่า สติ ความตามระลึกถึง ความระลึกได้เฉพาะ ฯลฯ
สัมมาสติ1 นี้ตรัสเรียกว่า มีสติ
พราหมณ์นั้นผู้ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป
เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยสตินี้ พราหมณ์นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
มีสติ รวมความว่า เธอจงมีสติ เพ่งพิจารณาอากิญจัญญายตนสมาบัติ
คำว่า อุปสีวะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
อุปสีวะ
คำว่า ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า ไม่มีอะไรดังนี้แล้ว ก็จะข้ามห้วงกิเลสได้
อธิบายว่า อากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า “อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี”
อากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า “อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี” เพราะเหตุไร
พราหมณ์นั้น มีสติ เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ไม่
ให้วิญญาณนั้นมี ไม่ให้มีโดยประการต่าง ๆ ให้อันตรธานไป ย่อมเห็นว่า “อะไร
น้อยหนึ่งย่อมไม่มี” เพราะเหตุนั้น เธออาศัย คือ เข้าไปอาศัยอากิญจัญญายตน-
สมาบัติที่มีความหมายว่า “อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี” ทำให้เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้ง
จงข้าม คือ จงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยห้วงกิเลสคือกาโมฆะ ภโวฆะ
ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะให้ได้ รวมความว่า ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า ไม่มีอะไรดังนี้แล้ว
ก็จะข้ามห้วงกิเลสได้
คำว่า เธอจงละกามทั้งหลาย เป็นผู้งดเว้นจากความสงสัยทั้งหลาย อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม 2 อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (1) วัตถุกาม (2)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม2

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 4/54-55
2 ดูรายละเอียดข้อ 8/66-67

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :181 }